ศาลเจ้าพ่อกื้ออี่ไทรย้อย
(ศาลเจ้าพ่อต้นไทร)

RYK2003

ศาลเจ้าพ่อกื้ออี่ไทรย้อย

(ศาลเจ้าพ่อต้นไทร)

ศาลเจ้าพ่อกื้ออี่ไทรย้อย (ศาลเจ้าพ่อต้นไทร) หรือศาลเจ้าพ่อต้นไทรเป็นศาลเจ้าจีนไหหลำ ในอดีตมีต้นไทรใหญ่ตรงกลางทางจึงเรียกกันว่า “ศาลเจ้าพ่อต้นไทร” เดิมศาลเจ้าเป็นอาคารไม้ก่อนจะบูรณะเมื่อปีพ.ศ. 2530 เป็นศาลเจ้าจีนอีกแห่งที่สำคัญในชุมชนปากน้ำประแส สืบค้นอายุสมัยของศาลเจ้าได้จากปีที่ระบุไว้บนอาคารประธานที่ระบุว่าสร้างขึ้นใหม่ในปีพ.ศ. 2531 หรือ ค.ศ. 1988 แต่จากการสอบถามชาวบ้านให้ข้อมูลว่าศาลเจ้าแห่งนี้เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ อีกแห่งของชุมชนปากน้ำประแส ตัวอาคารเดิมเก่าผุพังมากจึงได้มี การสร้างอาคารขึ้นใหม่แทนของเดิมข้นในปีพ.ศ. 2531

อาคารประธานในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทาง ทิศตะวันตกโดยมีอาคารขนาบข้างทั้งสองด้านของอาคารประธาน อาคารประธานใช้ด้านยาวของอาคารทำเป็นประตู ทางเข้าตามระเบียบของอาคารศาลเจ้าจีน ตัวอาคารตกแต่ง ด้วยภาพเขียนสีเล่าเรื่อง ด้านบนประตูทางเข้าเป็นป้ายชื่อ ภาษาไทยเขียนว่าศาลจ้าวพ่อกื้ออี่ไทรย้อย หลังคามุง กระเบื้องเคลือบแบบจีน บนสันหลังคาทำรูปมังกรคู่หัน หน้าเข้าหากัน การทำรูปมังกรหรือแทนความหมายของการ เป็นศูนย์กลาง หน้าบันของหลังคาทั้งสองด้านทำเป็น สัญลักษณ์ธาตุไม้

ตำนานเกี่ยวกับเจ้าพ่อต้นไทรมีอยู่ว่าว่า เจ้าพ่อต้นไทรเป็นคนจีนที่เดินเรือมาแล้วเรือแตก หลังจากนั้นร่างเจ้าพ่อก็มาขึ้นที่แม่น้ำประแส ร่างทรงจึงให้ตั้งศาลเจ้าพ่อต้นไทรขึ้นมา คนที่นับถือก็ไปไหว้ บนบานกับเจ้าพ่อจนได้ดิบได้ดี ส่วนมากจะขอเรื่องทำมาหากินในทะเล ขอให้เรือจับปลาได้ดี นอกจากคนประมงจะนับถือ คนทั่วไปก็นับถือด้วย ตั้งแต่คุณอุไรจำความได้ก็เห็นว่าศาลเจ้าพ่อต้นไทรมีเทวรูปหลายองค์ พ่อปู่สักกะลักกื้อมีศักดิ์ใหญ่ที่สุด รองลงมาเป็นจ้าวพ่ออี่ไทรย้อย และรองลงมาเป็นจ้าวพ่อจี่ไล้ไก้นิ้ง สำหรับงานประจำปีของศาลเจ้าแห่งนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี โดยเชื่อกันว่าเป็นวันเกิดเจ้าพ่อ

อาคารปีกซ้ายที่ขนาบทางด้านทิศใต้ของอาคารประธาน บนสันหลังคาทำเป็นรูปนกฟีนิกซ์คู่ หรือหงส์คู่ เป็นสัตว์ในตำนานของจีนที่ประจำทางทิศใต้ และมีความหมายทางประติมานวิทยาคู่กันกับมังกรบนสันหลังคาอาคาร ประธานอีกด้วย อาคารแห่งนี้มีทางต่อเชื่อมกับอาคารประธาน ทำให้สามารถเดินถึงกันได้ ภายในเก๋งประธานของอาคารแห่งนี้ ประดิษฐานแผ่นไม้สลักคล้ายแผ่นป้ายวิญญาณ บริเวณด้านหน้าอาคารที่มีการระบุว่าเป็นศาลเจ้าพ่อสักกะลักกื้อ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นอาคารดั้งเดิมของศาลเจ้าพ่อสักกะลักกื้อ องค์เดียวกันกับที่ตั้งอยู่ในอาคารประธาน



อาคารประธานของศาลเจ้าพ่อกื้ออี่ไทรย้อย
อาคารปีกซ้ายที่ขนาบทางด้านทิศใต้ของอาคารประธาน

แผ่นป้ายตัวแทนของเจ้าพ่อสักกะลักกื้อ

เทพเจ้าประธานคือเจ้าพ่อสักกะลักกื้อ (สันนิษฐานว่าเป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นในภายหลัง เพื่อเป็นตัวแทนแผ่นป้ายวิญญาณซึ่งเป็นของดั้งเดิม ตั้งคู่กับเจ้าพ่ออี่ไทรย้อย

ประติมากรรมเจ้าพ่อเล้าโฮ้ (เจ้าพ่อเสือ) เจ้าแม่กวนอิม เจ้าพ่อไล่โต่โต้ยหนั่ง

ประติมากรรมเทพเจ้าจี่ไล้ไก้นึ้ง

ศาลเจ้าพ่อสักกะลักกื้อที่ซ้อนอยู่บริเวณอาคารปีกซ้ายของอาคารประธานศาลเจ้าพ่อกื้ออี่ไทรย้อย